Sunday, May 23, 2010

Employee Engagement (2)

     บทความที่แล้ว เราได้ศึกษาถึงประโยชน์ที่ได้จากการมีความผูกพันต่อองค์การไปแล้ว ครั้งนี้เรามาศึกษาเพิ่มเติมถึงปัญหา สาเหตุ และแนวทางการป้องกันและแก้ไขเพื่อสร้างความผูกพันให้เกิดขึ้นในหน่วยงาน ก่อนอื่นเรามาดูความแตกต่างระหว่างพนักงานที่มีความผูกพันกับพนักงานที่ไม่มีความผูกพัน ดังนี้
     คงมองออกแล้วซิครับว่าในหน่วยงานของท่านมีสักกี่คนที่มีความผูกพัน (แล้วตัวท่านเองล่ะ มีความผูกพันหรือเปล่า?) ต่อไป เรามาศึกษาผลเสียจากการที่พนักงานลาออกกันต่อครับ
  • ต้องประกาศรับสมัครพนักงานใหม่
  • เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
  • โอกาสที่จะเกิดปัญหาหรือความผิดปกติมมีเพิ่มมากขึ้น
  • สูญเสียความรู้ที่ติดตัวกับพนักงานที่ลาออกไปหรือสมองไหล
  • มีโอกาสที่พนักงานคนอื่นลาออกตาม เป็นต้น
     จะเห็นได้ว่า ผลเสียที่เกิดขึ้นไม่น้อยเลยทีเดียวใช่ไหมครับ? ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ทุกฝ่ายจะต้องหันหน้าเข้าหากัน เพื่อสร้างให้เกิดความผูกพันขึ้นในองค์การ ซึ่งในการสร้างความผูกพันให้เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์การหรือการบริหารงาน เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้น โดยคุณณรงค์วิท แสนทอง ได้ให้แนวคิดเพื่อสร้างความผูกพันให้เกิดขึ้นกับหน่วยงานของท่าน โดยจำแนกตามปัจจัยทั้ง 3 เพื่อง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ ดังนี้ครับ

 การสร้างความผูกพันจากพนักงาน
  • ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจ ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีการทำงานอย่างถูกต้อง ไม่ลัดขั้นตอน เพื่อทำให้ผลงานที่ได้มีประสิทธิภาพ เมื่อผลงานดี ผลการประเมินประจำปีก็จะดีไปด้วยครับ
  • ปฏิบัติตามกฏของบริษัท เพื่อที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเพื่อนพนักงานคนอื่นหรือกับพนักงานใหม่เพื่อจะได้ไม่โดนใบเตือน เพราะมีผลต่อการประเมินอาจโดนหักคะแนนความประพฤติได้
  • ให้ความร่วมมือกับหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงาน เพื่อที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน
  • เสนอแนวคิดที่มีประโยชน์ต่อหน่วยงาน เช่น การปรับปรุงการทำงาน กิจกรรมไคเซ็น (การปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง) เป็นต้น
การสร้างความผูกพันจากหัวหน้างาน
  • ใส่ใจในลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างความสามัคคีในสถานที่ทำงาน
  • ไม่ควรรับปากในเรื่องที่ยังไม่มั่นใจว่าจะทำได้ เพื่อป้องกันความผิดหวังของพนักงาน
  • ส่งเสริมให้ลูกน้องเกิดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและหน่วยงาน เช่น กิจกรรมข้อเสนอแนะ (Suggestion) กิจกรรมการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Kaizen)
  • สร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีม เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เช่น Team Building
  • ปฏิบัติงานด้วยความยุติธรรม ไม่ลำเอียง ไม่ทำให้ลูกน้องเกิดความรู้สึกไม่ยุติธรรมในการบริหารงาน
  • ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม แล้วนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • ปรับปรุงและพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น ลดความสูญเปล่า เพื่อทำให้เกิดกำไร และทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น
การสร้างความผูกพันจากองค์การหรือหน่วยงาน
  • รับฟังความคิดเห็นของพนักงาน รวมไปถึงข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ
  • ส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างความสามัคคีในการปฏิบัติงาน เช่น Sport Day การจัดเลี้ยง หรือนำเที่ยงประจำปี
  • สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้สอดคล้องกับหลักของอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน เช่น กิจกรรม 5ส หรือกิจกรรมทำความสะอาดครั้งใหญ่ (Big Cleaning Day) การตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานประจำปี
  • ส่งเสริมกิจกรรมการทำงานเป็นทีมในหน่วยงานต่างๆ
  • สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดีและเป็นที่ยอมรับของพนักงานทุกคน
  • จัดระบบการบริหารงานที่มีความยืดหยุ่น ไม่เน้นกฏระเบียบมากจนพนักงานรู้สึกกดดันหรือโดนจ้องจัดผิด
     และขอฝากสิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างความผูกพัน คือ "ความจริงใจ" และ "ความตั้งใจจริง" ของทุกคน ต้องอาศัยเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ดังคำพูดที่ว่า "ความผูกพันไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง" ซึ่งถ้าความผูกพันเกิดขึ้นที่ใดแล้ว ความเจริญก้าวหน้าและการเติบโตอย่างยั่งยืน จะตามมาอย่างแน่นอนครับ


บทความดีๆ จาก Business Law & Human Resource : HR Management : ณรงค์วิทย์ แสนทอง

No comments:

Post a Comment